• Home
  • Lifestyle
  • Shoes
  • Bag & Gadget
  • Leather care
Menu
  • Home
  • Lifestyle
  • Shoes
  • Bag & Gadget
  • Leather care
Search

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear

  • Sakda Tienpaisarn
  • กรกฎาคม 6, 2021
  • 12:14 am
วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear

Bespoke Shoes คือการผลิตรองเท้าแบบ วัดตัดเฉพาะรายบุคคล ผลที่ได้จากการตัดแบบ Bespoke คือความพอดีของรองเท้าที่เข้ากับเท้าของเราแบบพอดีเป๊ะ ทำให้เราใส่รองเท้าได้อย่างพอดีมากที่สุด 

บทความนี้จะมาอธิบายวิธีการวัดเท้าอย่างละเอียด โดยช่างตัดรองเท้า Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear ที่ทำรองเท้าทุกขั้นตอนด้วยมือทั้งหมด

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
การวัดหน้าเท้าส่วน Ball ซึ่งเป็นส่วนที่กว้างที่สุด

สรุปขั้นตอนการวัดเท้า

  1. วัดรองเท้าด้วยสายวัดเพื่อดูขนาดของเท้า
  2. วัดส่วนสูงด้วย Engineer Scribe เพื่อดูจุดที่สูงที่สุด
  3. วัดความลึกผิวด้วย Profile Gauge
  4. วัดการลงน้ำหนักเท้าด้วย Pedigraph
  5. บันทึก Foot Profile สำหรับการทำหุ่นรองเท้า
วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
Engineer Scribe สำหรับการวัดความสูงเท้า

การวัดสัดส่วนเท้า

ผมได้มีโอกาสเข้าไปตัดรองเท้ากับคุณ Allan Donnelly ช่างทำรองเท้า Bespoke เจ้าของแบรนด์ Don’s Footwear ด้วยตัวเอง ซึ่งเค้าจะเป็นคนวัดเท้าผมเอง
 
เมื่อเริ่มวัดเท้า ช่างทำรองเท้าจะวัดเท้าตามลำดับ โดยเริ่มจากการใช้ดินสอลากเส้นรอบฝ่าเท้าเพื่อดูภาพรวมของเท้าเราก่อน
 
หลังจากที่วาดฝ่าเท้าเสร็จ ช่างจะทำการวัดขนาดของเท้า เริ่มต้นจากส่วนของปลายเท้า, Instep (เนื้อเท้าส่วนด้านบน) และส่วนของหลังเท้าบริเวณส้น
 
หากตัดรองเท้าแบบบูท ทางช่างจะต้องวัดไล่ขึ้นไปจนถึงส่วนของขา เพื่อที่จะทำให้รองเท้าพอดีกับส่วนของขาด้วย
วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
การวัด Instep เพื่อดูความนูนของเท้า

การวัดส่วน Ball

เนื่องจากแค่ส่วนของการวัดขนาดด้วยสายวัด อาจจะไม่สามารถทำให้รองเท้าพอดีกับเท้าได้ เนื่องจากส่วนของเท้ามีความเว้าและโค้งแตกต่างกันในแต่ละคน ช่างจะต้องทำการวัดสัดส่วนให้ละเอียด

เริ่มต้นจากการวัดส่วน Ball หรือหน้าเท้า เพื่อดูความกว้างด้วยสายวัดให้ได้หน่วยเป็นเซนติเมตร หรือนิ้ว เพื่อให้เห็นความกว้างโดยรวมของเท้า

หลังจากที่วัดขนาดแล้ว จะต้องใช้เครื่องมือ ที่มีชื่อว่า Engineer Scribe คือ เครื่องวัดความสูงที่มีลักษณะเป็นโลหะและมีเข็มชี้ สามารถใช้ดูความสูงของเท้าได้ เอามาวัดที่เท้าตรงส่วนของนิ้วโป้งและนิ้วก้อย

ช่างได้แปลผลให้ผมฟังว่า เท้าของผมมีปุ่มกระดูกที่ข้างซ้ายเยอะกว่าค่าปกติ ทำให้ผมมักจะมีอาการเจ็บส่วนนิ้วโป้งเท้าซ้าย แต่เท้าขวาผมปกติ ส่งผลให้เวลาใส่รองเท้า หน้าเท้าซ้ายจะคับเกินไป

ซึ่งผมพอจะทราบอยู่บ้างตั้งแต่ตอนที่ไปตัดที่ THREE Shoes แต่ในรอบนี้ ทางช่างแนะนำว่าถ้าผมอยากจะใส่รองเท้าให้สบายควรเพิ่มส่วนนี้ให้มันไม่รัดเท้าเกินไป

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
Profile Gauge สำหรับการดูแพทเทิร์นเท้า

การวัดส่วน Instep

เมื่อจบบริเวณด้านหน้าเท้าข้างซ้าย ทางช่างจะเริ่มมาวัดส่วนของ Instep ซึ่งทางช่างจะเริ่มจากการวัดด้วยสายวัดเพื่อดูขนาด และใช้ Engineer Scribe แต่ในรอบนี้มีการใช้ Profile Gauge

Profile Gauge คือเครื่องวัดความลึก วิธีใช้คือ กดเครื่องลองบนส่วนของ Instep แล้วจึงนำเครื่องไปทาบกับกระดาษแล้ววาดเส้นเพื่อดูส่วนเว้าส่วนโค้ง

นอกจากนี้ ทางช่างจะทำการหาตำแหน่งของ Instep ของเราด้วย เพื่อจะวิเคราะห์ว่ารองเท้าของเราจะต้องนูนที่ระดับไหน ถึงจะทำให้ไม่กดทับส่วนของ Instep 

ทางช่างวิเคราะห์ว่าเท้าของผมเป็น High Instep ซึ่งเป็นลักษณะที่มี Instep สูงกว่าเท้าคนที่ไป ทำให้เท้าดูอูมและมักจะประสบปัญหาเวลาใส่ Loafer แล้วติด Instep หรือใส่ Oxfords แล้วมัดเชือกปิดไม่สนิท

ซึ่งคำแนะนำคือ เลือก Tassel Loafer หรือ Boat Shoe จะสบายกว่าการใส่ Penny Loafer ที่มี Strap มากดหน้าเท้าจนปวด

ถ้าชอบแบบผูกเชือก สามารถเลือก Derby หรือ Blucher แทนการใส่ Oxfords ที่ระบบเชือกเป็นแบบปิดจนทำให้รัด Instep

ผมเลยพึ่งเข้าใจว่าทำไมถึงชอบ Split-toe Blucher มากเพราะรู้สึกใส่สบายกว่า Oxfords เป็นเพราะผมมี High Instep นี่เอง

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
การวัดส่วนของ Heel จะวัดเพื่อดูความใหญ่ของข้อเท้า

การวัดส่วน Heel

การวัด Heel จะต้องวัดด้วยสายวัด ร่วมกับการใช้ดินสอในการวัดส่วนสูงของเท้า เนื่องจากมีตำแหน่งเฉพาะที่ต้องดูหลายจุด

การวัด Heel หรือส้นเท้า ช่างจะทำการวัด 2 ตำแหน่งเพื่อความแม่นยำ คือ

  1. Low Heel ส่วนส้นติดกับ Instep
  2. High Heel ส่วนส้นเหนือตาตุ่ม

เนื่องจากกรณีที่เราตัดรองเท้าโดยทั่วไป รองเท้าควรจะต้องมีส่วนโค้งไล่ไปตามส่วนของข้อเท้า โดยเฉพาะส่วนของตาตุ่ม (Talus) ซึ่งมักเสียดสีกับรองเท้าจนเกิดภาวะ รองเท้ากัด 

ดังนั้น ต้องทำการวัดสองตำแหน่งเพื่อทำหุ่นที่มีความพอดีกับเท้า จะได้นำมาขึ้นหนังรองเท้าได้อย่างแม่นยำ

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
การวัด Center ของส่วนของ Heel Counter

หลังจากที่วัดส่วน Low + High Heel แล้ว ทางช่างจะทำการวัดจุด Center ของหลังเท้าเรา เพื่อหาจุดที่นูนที่สุด

รองเท้าที่มีส่วนเว้าส่วนโค้งที่รับกับส้นเราพอดี จะทำให้รองเท้าไม่หลุดออกมาในระหว่างวัน หากรองเท้าไม่มีส่วนนูน เวลาเดินจะทำให้รองเท้าเราหลุดตลอดเวลา

ทางช่างอธิบายว่าผม ส้นเท้าเล็ก ซึ่งเป็นลักษณะของชาวเอเซียที่มีข้อเท้าเล็ก แต่หน้าเท้ากว้าง หากผมไปใส่รองเท้าของ อังกฤษ, เยอรมัน, ฮังการี หรืออเมริกาบางแบรนด์ มักจะทำให้รองเท้าหลุดระหว่างเดินได้ง่าย

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
ความละเอียดของการวัดจะทำให้ได้ Last ที่เข้ากับเรา

การวัดลักษณะฝ่าเท้า 

เมื่อเราได้ข้อมูลทั้งหมดในส่วนของด้านบน ช่างจะทำการวัดลักษณะของฝ่าเท้าเราได้ Pedigraph เพื่อดูว่าเราเป็นเท้าลักษณะใด

  1. Normal Foot ฝ่าเท้าปกติ
  2. Flat Foot ฝ่าเท้าแบน ส่วนของอุ้งเท้าจะแบนราบติดกับพื้น
  3. Hollow Foot อุ้งเท้าสูง น้ำหนักจะลงส่วนหน้าเท้าและส้นเท้า แต่ไม่ลงอุ้งเท้า

การวัดด้วย Pedigraph จะทำให้เราเห็นการลงน้ำหนักลงบนฝ่าเท้า ซึ่งช่างจะนำข้อมูลฝ่าเท้าไปทำพื้นของ Last (หุ่นรองเท้า) ทำให้แนบกับฝ่าเท้าเราได้ดียิ่งขึ้น

ช่างแปลผลการวัดเท้าของผมออกมาว่าเป็นฝ่าเท้าปกติ ซึ่งถือว่าดี เพราะจะไม่มีปัญหาต่อสรีระและบุคลิกภาพในการเดินของนั่นเอง

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
Pedigraph วัดการลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้า

ข้อมูลการวัดด้วย Pedigraph จะออกมาในลักษณะของ Footprint จุดที่มีการลงน้ำหนักเยอะก็จะมีลักษณะที่เข้ม ซึ่งการกระจายน้ำหนักที่ฝ่าเท้าของผมเป็นแบบปกติ

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
Footprint ที่ได้จากการวัด Pedigraph

การวัดสำหรับการตัดบูท

หากเราตัดรองเท้าบูท เราจะต้องพูดคุยกับทางช่างให้เรียบร้อยก่อนว่าต้องการรองเท้าบูท ทางช่างเองก็จะทำการวัดเส้นรอบเท้าของเราเพิ่มเติม

การวัดจะต้องกำหนดความสูงของบูทก่อน หลังจากได้ความสูงที่ต้องการแล้ว จะทำการวัดเส้นรอบขาตามจุดต่าง ๆ เพื่อให้มีความพอดี

วัดเท้าแบบละเอียดโดย Bespoke Shoemaker แบรนด์ไทย Don’s Footwear
การวัดเส้นรอบเท้าเพื่อตัดรองเท้าบูท

วัดเท้าเสร็จต้องทำอะไรต่อ

หลังจากได้ Foot Profile แล้ว เราจะต้องกำหนด Specification ของรองเท้าให้กับทางร้าน เพื่อที่ทางร้านจะนำไปทำ Last และตัดรองเท้าตัวต้นแบบมาให้เราทดลอง

ซึ่งผมเองชอบ Chiseled Toe มาก เพราะมันดูเซ็กซี่ และชอบให้เข้าเอวรองเท้าแบบคอดมากเป็นพิเศษ ผมเลยกำหนดโจทย์ให้เค้าว่า ขอให้เป็นรองเท้าที่เซ็กซี่และใส่ใช้งานได้ เดี๋ยวมาลองดูกันในอีก 2 เดือนว่าจะออกมาแบบไหนกันครับ

สนับสนุน Shineable.co

สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจจะช่วยสนับสนุนค่าผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าให้กับผม สามารถบริจาคผ่านช่องทาง QR code นี้ได้เลยครับ

contact us

สมาชิกท่านใดต้องการติดต่อกับทางทีมงาน Shineable.co ติดต่อได้ทางช่องทางนี้

  • 081-459-6783
  • shineable.co@gmail.com

About me

บล๊อกสำหรับคนรักเครื่องหนังทุกประเภท
สำหรับเรา เครื่องหนัง คือ ศิลปะ

Banner Shineable 02

Recommended post

Balmoral Boots Three Shoes

รีวิว Balmoral Boots แบรนด์ THREE Shoes รองเท้าบูทส์ที่สุภาพที่สุด

Banner Shineable 01

RECENT POSTs

Bespoke Shoes ของ Dons Footwear รายละเอียดที่เก็บทุกเม็ด

22 มีนาคม 2022
Bespoke Shoe Tree by Don’s Footwear ดันทรงที่ทำมาเพื่อรองเท้าของเราโดยเฉพาะ

Bespoke Shoe Tree by Don’s Footwear ที่ทำมาเพื่อรองเท้าของเราโดยเฉพาะ

16 กุมภาพันธ์ 2022
ประสบการณ์ในการ Fitting รองเท้า Bespoke shoe ที่ Don’s Footwear

ประสบการณ์ในการ Fitting รองเท้า Bespoke shoe ที่ Don’s Footwear

11 พฤศจิกายน 2021

Follow us

Facebook

Instagram

Youtube

Categories

  • Bags (5)
  • Leather care (20)
  • Lifestyle (10)
  • Shoes (39)

Tags

  • Boots (1)
  • Dress Shoes (44)
  • Shoe care (15)
  • Shoemaker (31)
  • กระเป๋าหนัง (5)
  • ขัดรองเท้า (18)
  • ดูแลเครื่องหนัง (15)
  • ตัดรองเท้า (9)
  • รองเท้าบูท (2)
  • รองเท้าหนัง (45)
  • รีวิว (44)
  • สายนาฬิกา (1)
  • หนังแกะ (1)

Follow Us

Facebook

Instagram

Youtube

© 2020 Shineable.co All rights reserved.